วันแม่แห่งชาติ ประจำปี ๒๕๕๔ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี
ความเป็นมาของวันแม่
ชาวอเมริกันเป็นผู้กำหนดให้มีวันแม่อย่างเป็นทางการขึ้น และผู้ที่พยายามเรียกร้องให้มีวันแม่ในอเมริกา คือ แอนนา เอ็ม. จาร์วิส คุณครูแห่งรัฐฟิลาเดลเฟีย แต่กว่าเธอจะประสบความสำเร็จก็ครบ ๒ ปีพอดีในปี ค.ศ.1914 (พ.ศ.๒๔๗๕) โดยประธานาธิบดี วูดโรว์ วิลสัน ได้มีคำสั่งให้ถือวันอาทิตย์ที่ ๒ ของเดือนพฤษภาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และดอกไม้สำหรับวันแม่ของชาวอเมริกันก็คือดอกคาร์เนชั่น ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๒ แบบ คือถ้าแม่ยังมีชีวิตอยู่ให้ประดับตกแต่งบ้าน หรือประตูด้วยดอกคาร์เนชั่นสีชมพู แต่ถ้าแม่ถึงแก่กรรมไปแล้วให้ประดับด้วยดอกคาร์เนชั่นสีขาว
ความเป็นมาของวันแม่แห่งชาติในประเทศไทย
งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ ๑๕ เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
งานวันแม่จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๘๖ ณ.สวนอัมพร โดยกระทรวงสาธารณสุข แต่ช่วงนั้นเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ งานวันแม่ในปีต่อมาจึงต้องงดไป เมื่อวิกฤติสงครามสงบลง หลายหน่วยงานได้พยายามให้มีวันแม่ขึ้นมาอีก แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร และมีการเปลี่ยนกำหนดวันแม่ไปหลายครั้ง ต่อมาวันแม่ที่รัฐบาลรับรอง คือวันที่ ๑๕ เมษายน โดยเริ่มจัดตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๓ แต่ก็ต้องหยุดลงอีกในหลายปีต่อมา เนื่องจากกระทรวงวัฒนธรรมถูกยุบไป ส่งผลให้สภาวัฒนธรรมแห่งชาติซึ่งรับหน้าที่จัดงานวันแม่ขาดผู้สนับสนุน
ต่อมาสมาคมครูคาทอลิกแห่งประเทศไทย ได้จัดงานวันแม่ขึ้นอีกครั้ง ในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๕ แต่จัดได้เพียงปีเดียวเท่านั้น จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ คณะกรรมการอำนวยการสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จึงได้กำหนดวันแม่ขึ้นใหม่ให้เป็นวันที่แน่นอน โดยถือเอาวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ วันที่ ๑๒ สิงหาคมเป็นวันแม่แห่งชาติ และกำหนดให้ดอกไม้สัญลักษณ์ของวันแม่ คือ ดอกมะลิ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สัญลักษณ์ที่ใช้ในวันแม่่ คือ ดอกมะลิ เป็นดอกไม้ที่มีสีขาวบริสุทธิ์ ส่งกลิ่นหอมไปไกลและหอมได้นาน อีกทั้งยังออกดอกได้ตลอดทั้งปี เปรียบได้กับความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีต่อลูกไม่มีวันเสื่อมคลาย
ที่มา : thaigoodview.com
หลักการและเหตุผล
เนื่องจากวันที่ ๑๒ สิงหาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อชาวไทยและเปรียบเสมือนเป็นแม่แห่งชาติ ซึ่งทางคณะกรรมการส่งเสริมศีลธรรมและจิตใจ ได้มีมติเห็นชอบว่าวันที่ ๑๒ สิงหาคม สมควรเป็นวันแม่แห่งชาติโดยพิจารณาว่าแม่เป็นผู้มีพระคุณและมีบทบาทอย่างสำคัญต่อครอบครัวและสังคม สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี ตระหนักถึงความสำคัญของวันแม่แห่งชาติ และเห็นควรว่าแม่สมควรที่จะได้รับการเทิดทูนและตอบแทนบุญคุณด้วยความกตัญญูกตเวทิตาการแสดงออกถึงความรัก ความดีที่จะทำให้แม่ได้ชื่นใจและสุขใจจึงได้จัดโครงการ “วันแม่แห่งชาติ” ขึ้น
กิจกรรมที่จัดประกอบด้วย กิจกรรมถวายพระพร การประกวดวาดภาพระบายสี เรียงความเรื่อง “แม่ของฉัน” และเยี่ยมญาติใกล้ชิด เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่ของลูกที่ดีที่พึงปฏิบัติ เป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัวอย่างยั่งยืน
กิจกรรมที่จัดประกอบด้วย กิจกรรมถวายพระพร การประกวดวาดภาพระบายสี เรียงความเรื่อง “แม่ของฉัน” และเยี่ยมญาติใกล้ชิด เพื่อเป็นการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม หน้าที่ของลูกที่ดีที่พึงปฏิบัติ เป็นการส่งเสริมสถาบันครอบครัวอย่างยั่งยืน
ประธานเปิดโครงการ โดยท่านเกียรติยศ ไชยศิริธัญญา ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดจันทบุรี
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อจัดให้มีกิจกรรมเทิดทูนพระเกียรติของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
๒. เพื่อเทิดทูนพระคุณแม่ และยกย่องบทบาทของแม่ที่มีต่อครอบครัวและสังคม
๓. เพื่อให้เด็กและเยาวชนซึ่งมีฐานะเป็นลูกได้แสดงความกตัญญูกตเวที
๔ เพื่อเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนและผู้ปกครองได้มีโอกาสประกอบกิจกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
๑. เด็กและเยาวชนได้แสดงความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
๒. เด็กและเยาวชนได้แสดงออกถึงความรักกตัญญูกตเวทีต่อพ่อแม่
๓. เด็กและเยาวชนเห็นคุณค่าของความรักของแม่ผู้ให้กำเนิด
๔. เด็กและเยาวชนได้ร่วมกิจกรรมเช่นเดียวกับเยาวชนอื่น ๆ ในสังคมภายนอก
ผู้ประสานโครงการ
นางสาวนิภา ใจจริง นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น