โครงการ สืบสานประเพณีไทย วันลอยกระทง ๒๕๕๕
๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๕๕ ณ สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี
หลักการและเหตุผล
การร่วมสืบสาน
“ประเพณีลอยกระทง” ของไทยเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่มีความสำคัญ
เป็นการแสดงออกถึงเอกลักษณ์ ประเพณี ที่มีการสืบทอดกันมานานตั้งแต่บรรพบุรุษ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อแม่พระคงคา
บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก
ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์และการทำกระทงเพื่อเข้าประกวดที่น่าสนใจแตกต่างกันไปซึ่งประเพณีลอยกระทงก่อให้เกิดคุณค่าและความสำคัญด้านต่าง ๆ คือ คุณค่าต่อครอบครัว
ทำให้สมาชิกในครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น
การประดิษฐ์กระทงไปลอยเพื่อแสดงความสำนึกในบุญคุณของน้ำที่ให้คุณประโยชน์แก่เรา คุณค่าต่อชุมชน
ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน คุณค่าต่อสังคมทำให้มีความเอื้ออาทรต่อกันและกันและเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการช่วยกันรักษาความสะอาดแม่น้ำลำคลองและแหล่งน้ำต่างๆ คุณค่าต่อศาสนา
เป็นการช่วยกันรักษาและทำนุบำรุงศาสนา และสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทยแต่โบราณ
ท่านผู้อำนวยการสถานพินิจฯ จันทบุรี นางสุปรียา จรัสไพบูลย์ ให้เกียรติฯ เป็นประธาน
๑. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟู
ประเพณีอันดีงามของไทย และมีโอกาส
ในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ส่วนรวม
๒.
เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้มีโอกาสแสดงความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานประดิษฐ์กระทง
๓.
เพื่อให้เด็กและเยาวชน เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน ผ่อนคลาย
คณะกรรมการตัดสินเข้มข้น
กิจกรรมมุ่งส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมอนุรักษ์และฟื้นฟู ประเพณีอันดีงามของไทย และมีโอกาสในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ส่วนรวม ได้แสดงความสามารถในการออกแบบ สร้างสรรค์ผลงานประดิษฐ์กระทง กล้าคิด กล้าแสดงออก เกิดความสนุกสนาน เพลิดเพลิน และผ่อนคลาย .....
ผู้รับผิดชอบ/ประสานงานโครงการ
นางเพิ่มสุข ยนตร์ภักดิ์ ช่างตัดผม
นายวุฒิชัย ล้อมทอง นักวิชาการอบรมและฝึกวิชาชีพชำนาญการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น